อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
1. เพื่อดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ทุกประเภท กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มลักษณะอื่น
3. ส่งเสริม เผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์สหกรณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป
4. ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มลักษณะอื่น
5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ฝ่ายบริหารทั่วไป |
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรวบรวมแผนงาน คำขอตั้งงบประมาณติดตามเร่งรัดและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงานและโครงการต่างๆ รวมทั้งรวบรวมสถิติข้อมูลงานด้านสหกรณ์ ปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์ งานด้านบริหารงานบุคคล งานติดต่อประสานงาน งานสารบรรณ และงานธุรการทั่วไป ตลอดจนดำเนินงานด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีรายละเอียดของงานที่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้ ก. ปฏิบัติงานด้านธุรการ รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณทั่วไป เช่น การรับส่งหนังสือราชการ การควบคุมทะเบียนหนังสือเข้าออกสำนักงานสหกรณ์จังหวัด หนังสือเวียน หนังสือราชการลับ คำสั่ง ประกาศของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด กำหนดอายุหนังสือราชการ งานเก็บค้นหาเอกสารต่างๆ การควบคุมการส่งเอกสารของทางราชการทางไปรษณีย์ การร่าง - โต้ตอบหนังสือ การกลั่นกรองหนังสือราชการให้ถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ การบันทึกนำเสนอหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา การรวบรวมคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานต่างๆ ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเกี่ยวข้องทั้งหมด จดบันทึกรายงานการประชุมข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ควบคุม ตรวจสอบการลงเวลามาปฏิบัติงานและรายงานผลตามงวดที่กรมกำหนดให้รายงาน จัดทำทะเบียนคุมวันลากิจ ลาป่วยและลาพักผ่อน การจัดผู้อยู่เวรยามประจำสำนักงาน ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัด ดำเนินการจัดกิจกรรม 5 ส. ของหน่วยงาน ดำเนินการตรวจสอบนำเสนอขอทำลายเอกสารราชการที่พ้นระยะเวลาการเก็บรักษาตามระเบียบพัสดุ ข. การปฏิบัติงานด้านบุคคล รับผิดชอบเกี่ยวกับ 1. ดูแลการบริหารงานบุคคลของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด 2. จัดเก็บ บันทึก ประวัติข้าราชการ (ก.พ.7) ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ 3. รวบรวมการจัดทำประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ 4. ดำเนินการจัดทำคำสั่งเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ 5. ดำเนินการสรรหา คัดเลือกพนักงานราชการของสำนักงาน 6. ดำเนินการตามกระบวนการทางวินัยแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำที่กระทำผิดเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงโทษ 7. รายงานการปรับคุณวุฒิและการฝึกอบรมของข้าราชการทุกคน รายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อ สกุล การถึงแก่กรรมของข้าราชการและลูกจ้างประจำทุกคนต่อกรมฯ ประสานงานกับส่วนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการขอรับบำเหน็จ บำนาญ ของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการ ลาออกจากราชการ หรือถึงแก่กรรมในกรณีที่เป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จบำนาญ ค. การปฏิบัติงานบัญชีและการเงิน รับผิดชอบเกี่ยวกับ 1. ตรวจสอบเอกสารการเบิกเงินราชการ เพื่อนำเสนอผู้บังคับบัญชาอนุมัติ 2. ดำเนินการขอเบิกเงินจากคลัง ทั้งเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณจากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) 3. จัดทำทะเบียนคุมเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณทุกประเภท 4. จัดทำบัญชีการเงินของสำนักงาน 5. รับผิดชอบการรับ - จ่ายเงินของหน่วยงาน 6. จัดเก็บเอกสารการเงิน สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารและสมุดเช็คไว้อย่างปลอดภัย 7. ดำเนินการจ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณให้เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินโดยการจ่ายตรง หรือจ่ายผ่านส่วนราชการ 8. ดำเนินการรับและนำส่งเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ และเงินรายได้แผ่นดินในระบบ GFMIS 9. ตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุง ข้อมูลในระบบ GFMIS ให้ถูกต้องตามหลักการบัญชี 10. จัดทำรายงานการเงินจากระบบ GFMIS และการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ง. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ รับผิดชอบเกี่ยวกับ 1. ควบคุม จัดทำทะเบียนพัสดุ ครุภัณฑ์สำนักงานทุกประเภท 2. ดำเนินการจัดซื้อ - จัดจ้าง ตามแผนงานที่ได้รับอนุมัติ 3. ควบคุมการเบิกจ่ายพัสดุสำนักงาน 4. ควบคุมยานพาหนะ การใช้รถยนต์ราชการ ตลอดจนการซ่อมบำรุงรักษา 5. จัดทำทะเบียน ควบคุมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น 6. ตรวจสอบพัสดุครุภัณฑ์คงเหลือประจำปีและรายงานกรมฯ 7. จัดการตัดจำหน่ายครุภัณฑ์เสื่อมชำรุดตามระเบียบพัสดุ จ. การจัดทำแผนงานและงบประมาณ รับผิดชอบเกี่ยวกับ 1. รวบรวมข้อมูล ประสานงานเพื่อการจัดทำแผนงานและคำของบประมาณประจำปี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนแผนงานประจำปีของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด 2. จัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติงานและการจัดสรรงบประมาณ เช่น ทะเบียนครุภัณฑ์ยานพาหนะ ทะเบียนอุปกรณ์การตลาดและสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น 3. พิจารณาเสนอหลักเกณฑ์ในการจัดสรรและบริหารงบประมาณ เพื่อให้การบริหารงบประมาณเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล 4. วิเคราะห์ จัดสรร แผนปฏิบัติงาน และงบประมาณ เสนอสหกรณ์จังหวัดเพื่อพิจารณาจัดสรรให้หน่วยงานในสังกัด 5. กำกับ และแนะนำการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติงานประจำปี 6. ประสานแผนปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 7. ปรับปรุงแผนงาน รายงานขอเงินงบประมาณเพิ่มเติม 8. ประสานแผนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฉ. การติดตามและประเมินผล รับผิดชอบเกี่ยวกับ 1. สร้างระบบติดตามและประเมินผลของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดให้สอดคล้องกับระบบการติดตามและประเมินผลของกรมส่งเสริมสหกรณ์ 2. ติดตาม เร่งรัด และประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงานและโครงการต่างๆ 3. รวบรวมสถิติข้อมูลด้านสหกรณ์ 4. ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนด 5. สรุปผลนำเสนอสหกรณ์จังหวัดเพื่อพัฒนาปรับปรุง แก้ไข พร้อมกำชับการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ 6. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานความก้าวหน้า ผลการปฏิบัติงานโครงการต่างๆ แก่กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช. ดำเนินการด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานด้านส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ซ. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ |
มีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับงานจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ต่างๆ ดังนี้ 1. เผยแพร่ และให้ความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ว่าด้วยเรื่องอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป 2. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสหกรณ์ เพื่อให้คำแนะนำแก่คณะผู้จัดตั้งเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหกรณ์ ตรวจสอบและเสนอความเห็น และให้คำปรึกษาในด้านการกำหนดข้อบังคับสหกรณ์ ศึกษา วิเคราะห์ คำขอจัดตั้งสหกรณ์ของผู้ที่ประสงค์ขอจัดตั้งเพื่อให้เป็นไปตามหลักการสหกรณ์ ศึกษา วิเคราะห์ ถึงความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสหกรณ์ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเป็นเจ้าภาพหลักประสานกับทุกกลุ่ม ฝ่าย ในการจัดตั้งสหกรณ์ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนี้ให้รวมถึงการควบสหกรณ์ การแยกสหกรณ์ การจัดตั้งชุมนุมสหกรณ์ และการเลิกสหกรณ์ด้วย ทั้งนี้ ให้รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เช่นเดียวกัน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย และข้อมูลด้านอื่นๆ ของบุคคลที่ประสงค์จะขอจัดตั้งนั้น ต้องปฏิบัติงานร่วมกับกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่ 3. ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่นๆ ว่าเมื่อมีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาแล้วสามารถดำเนินการบริหารกลุ่มไปได้ด้วยดีเพียงใด เพราะกลุ่มที่ตั้งขึ้นมานั้นจะต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ฉะนั้น จะต้องทำการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดแนวทางเพื่อให้กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนติดตามผลการดำเนินงานภายหลังการตั้ง รวมทั้งเป็นเจ้าภาพหลักในการส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร หรือกลุ่มอื่นๆ ให้ได้มาตรฐานหรือระดับชั้นตามที่กรมกำหนด 4. ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ที่จัดตั้งขึ้นมาว่ามีปัญหาในการดำเนินงานอย่างไร และหากพบปัญหาจะต้องร่วมกับกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่เข้าไปทำการช่วยเหลือหรือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือ เช่น ในกรณีที่สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรมีปัญหาในด้านการตลาดก็ต้องประสานงานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ให้เข้าไปทำการช่วยเหลือหรือถ้ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการก็ต้องประสานงานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ให้เข้าไปทำการช่วยเหลือ หรือประสานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 5. ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลต่างๆ รวมทั้งประสานงานกับส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการอื่นๆ 6. ให้คำปรึกษา แนะนำในการแก้ไขปัญหาด้านการจัดตั้งและการส่งเสริมให้แก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ จากการที่กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ได้ทำการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ต่างๆ และประสานงานกับกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ซึ่งในระหว่างดำเนินการจัดตั้งนั้น ถ้ามีปัญหาในการดำเนินงานเกิดขึ้น หรือเมื่อจัดตั้งแล้วและมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริม กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์จะต้องให้คำปรึกษา แนะนำในการแก้ปัญหาเหล่านั้นกับกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 7. ให้คำปรึกษา แนะนำแก่สหกรณ์ พร้อมกับติดตามการดำเนินงานของสหกรณ์ในให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เสนอแต่งตั้งผู้ตรวจการสหกรณ์ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบกิจการและภาวะการเงินของสหกรณ์ รวบรวม ประเมินผลการรายงานของผู้ตรวจการสหกรณ์เสนอรองนายทะเบียนสหกรณ์ วินิจฉัยสั่งการให้สหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องตามที่ผู้ตรวจการสหกรณ์หรือผู้สอบบัญชีตรวจพบภายในเวลาที่กำหนด ติดตาม ตรวจสอบ ความก้าวหน้าในการแก้ไขข้อบกพร่องในสหกรณ์ ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ข้าราชการในกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อการแก้ไขปัญหา และการรายงานในระดับจังหวัดกับกรมฯ ประสานกับกลุ่มในจังหวัดในแต่ละกรณี และสำนักจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ในส่วนกลาง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวให้รวมถึงกลุ่มเกษตรกรด้วย สำหรับการแต่งตั้งผู้ตรวจการสหกรณ์นั้น เนื่องจากกรมได้กำหนดบทบาทให้ข้าราชการที่สังกัดกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์เป็นทั้งผู้ส่งเสริมและผู้ตรวจการสหกรณ์ ดังนั้น การตั้งผู้ตรวจการสหกรณ์จึงแต่งตั้งจากข้าราชการที่สังกัดกล่มส่งเสริมสหกรณ์ในแต่ละกลุ่มที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดเป็นผู้ตรวจการสหกรณ์ แต่ต้องเป็นสหกรณ์ที่ข้าราชการผู้นั้นไม่ได้ทำหน้าที่ส่งเสริม เว้นแต่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์นั้นๆ มีข้าราชการเพียงคนเดียว หากสหกรณ์ที่อยู่ในความส่งเสริมของกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ใดมีปัญหามากหรือเป็นสหกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ให้ตั้งเป็นคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ก็ได้ แต่ถ้าสหกรณ์ที่อยู่ในความส่งเสริมของกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ใดมีปัญหาเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ในระดับจังหวัดก็ให้รายงานผู้ตรวจราชการกรมเพื่อพิจารณา 8. ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 9. สนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร โดยวิเคราะห์ความต้องการ สภาพปัญหา แยกแยะและจัดกลุ่มของความต้องการให้ชัดเจน รวมถึงพิจารณาแผนงาน โครงการตามแผนปฏิบัติงานประจำปีของกรม จังหวัด เพื่อเป็นข้อมูลให้กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์นำไปร่วมประชุมเสวนากับคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิกสหกรณ์ 10. ในกรณีที่มีนิคมสหกรณ์อยู่ในจังหวัดให้สนับสนุนการปฏิบัติการสำรวจทำแผนที่ในสนาม ได้แก่ การสำรวจสภาพภูมิประเทศเพื่อทำโครงการทางช่างชั้นต้น การสำรวจวงรอบ - กันเขต วงรอบ - ระดับ รายแปลง แบ่งแปลงผังบริเวณ การสำรวจอุทกวิทยา เป็นต้น และแก้ไขกรณีพิพาทเกี่ยวกับการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินในนิคมสหกรณ์ 11. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ |
มีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมสหกรณ์และพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรต่างๆ โดยเป็นการศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. เผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ว่าด้วยเรื่องอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไป 2. ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการผลิตในระดับธุรกิจให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด และส่งเสริมการตลาดแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ที่จัดตั้งขึ้นมาให้มีการดำเนินการทางด้านธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มและสมาชิกของกลุ่ม โดยในการดำเนินธุรกิจหรือดำเนินการใดๆ ของกลุ่มนั้น ถ้ามีผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น จะต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการตลาดด้วย 3. ศึกษา วิเคราะห์ ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์และรูปแบบการจัดการ เพื่อให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเป็นการเพิ่มพูนมูลค่าสินค้า เพราะสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่นผลิตขึ้นมา นอกจากจะต้องมีตลาดมารองรับแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือรูปแบบการบรรจุผลิตภัณฑ์หรือหีบห่อก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะถ้าผลิตภัณฑ์มีรูปแบบการบรรจุที่สวยงามย่อมเป็นที่ต้องการของตลาด จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น 4. ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลด้านการตลาดและส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจการตลาดของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น รวมทั้งหาลู่ทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยทำการรวบรวม สำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารด้านการตลาดและธุรกิจของสหกรณ์ และกลุ่มต่างๆ รวมทั้งดำเนินการสำรวจปริมาณและวางแผนการผลิตของสมาชิกและความต้องการของตลาดเพื่อให้ปริมาณการผลิตสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการตลาดและธุรกิจ เพื่อจะได้แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและใช้ประกอบในการวางแผนการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มต่างๆ ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีการประชาสัมพันธ์ การกระจายข่าวตามท้องถิ่นเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารได้รับรู้กันโดยทั่วไป 5. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างสหกรณ์กับสหกรณ์ สหกรณ์กับกลุ่มต่างๆ หรือสหกรณ์กับบุคคลภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเชื่อมโยงเครือข่ายดังกล่าวให้ทราบโดยทั่วถึงกัน 6. ประสานงานให้ความช่วยเหลือในการดูแลรักษาและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบดูแล รักษา ซ่อมแซมเทคโนโลยีการผลิตของสหกรณ์หรือกลุ่มต่างๆ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างต่อเนื่อง 7. ให้คำปรึกษา แนะนำในการแก้ไขปัญหาด้านพัฒนาธุรกิจแก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อให้นำไปกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ 8. ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 9. สนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร โดยวิเคราะห์ความต้องการ สภาพปัญหา แยกแยะและจัดกลุ่มของความต้องการให้ชัดเจน รวมถึงพิจารณาแผนงาน โครงการตามแผนปฏิบัติงานประจำปีของกรม จังหวัด เพื่อเป็นข้อมูลให้กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์นำไปร่วมประชุมเสวนากับคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิกสหกรณ์ 10. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ |
มีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ และกลุ่มต่างๆ โดยเป็นการศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. เผยแพร่ และให้ความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ว่าด้วยเรื่องอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป 2. ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคล การบริหารการจัดการ และการควบคุมภายในเพื่อพัฒนาให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่นๆ ให้มีความเข้มแข็ง โดยการแนะนำช่วยเหลือด้านการวางแผน จัดทำแผนกลยุทธ์ จัดทำโครงการ วิเคราะห์โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งให้คำแนะนำในการวางแผนด้านบุคคลแก่สหกรณ์และกลุ่มต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดโครงสร้าง ปริมาณธุรกิจ ระบบงาน และระบบการควบคุมภายในของสหกรณ์และกลุ่มต่างๆ เหล่านั้นด้วย เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3. ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการ การจัดหา การลงทุน การบริหารเงินทุน และการประกอบธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่นๆ โดยจะต้องทำการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของโครงการที่สหกรณ์และกลุ่มเสนอว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ซึ่งเป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน การจัดหาแหล่งเงินทุนรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการบริหารเงินทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่ากับการลงทุน 4. ประสานงานกับกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์เพื่อติดตามประเมินผลการให้สินเชื่อ และเงินทุนที่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพและกลุ่มอื่นๆ ได้รับจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมทั้งเร่งรัดการส่งชำระหนี้ เตือนหนี้ที่จะถึงกำหนดชำระ 5. ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารการจัดการแก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 6. ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 7. สนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร โดยวิเคราะห์ความต้องการ สภาพปัญหา แยกแยะและจัดกลุ่มของความต้องการให้ชัดเจน รวมถึงพิจารณาแผนงาน โครงการตามแผนปฏิบัติงานประจำปีของกรม จังหวัด เพื่อเป็นข้อมูลให้กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์นำไปร่วมประชุมเสวนากับคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิกสหกรณ์ 8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มตรวจการสหกรณ์
มีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับงานตรวจการสหกรณ์ โดยเป็นการศึกษา วิเคราะห์ และกำหนด
แนวทางการปฏิบัติงาน ดังนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์
เพื่อให้สหกรณ์ปฏิบัติหรืองดเว้นปฏิบัติตามที่กฎหมายสหกรณ์หรือกฎหมายอื่นกำหนด รวมถึงข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ ระเบียบหรือคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ พร้อมจัดทำรายงานเสนอนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อทราบหรือพิจารณา
2. ศึกษา วิเคราะห์ แนวทางการตรวจการสหกรณ์ให้เกิดประสิทธิภาพ
3. ศึกษา วิเคราะห์ การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ การร้องเรียนการดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อนำเสนอนายทะเบียนสหกรณ์วินิจฉัยหรือสั่งการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมวางแนวทางการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟู
4. ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของนายทะเบียนสหกรณ์
5. ช่วยเหลือนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ในการเตรียมการหรือทำคำสั่งทางปกครองให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางปกครอง
6. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ
7. ประสานการทำงานร่วมกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ
8. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย
9. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ |
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ 1. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฏหมายว่าด้วยกลุ่มเกษตรกรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่อำเภอที่รับผิดชอบ 2. ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารงานสหกรณ์ทุกประเภท และกลุ่มเกษตรกร ในเขตพื้นที่อำเภอที่รับผิดชอบ 3. ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์ทุกประเภท และกลุ่มเกษตรกร ในเขตพื้นที่อำเภอที่รับผิดชอบ 4. เผยแพร่และให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสหกรณ์ อุดมการณ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไปในเขตพื้นที่อำเภอที่รับผิดชอบ 5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย แนวทางปฏิบัติงาน กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ โดยสรุปแนวทางปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. เผยแพร่ และให้ความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ว่าด้วยเรื่องอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป 2. ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 3. ให้การส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุน แนะนำ การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ให้ดำเนินงานได้ภายหลังการจัดตั้ง รวมถึงการส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุน แนะนำในการควบสหกรณ์ การแยกสหกรณ์ และการเลิกสหกรณ์ 4. ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่นๆ ในการดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้องค์กรเข้มแข็งพึ่งตนเองได้และเป็นที่พึ่งของมวลสมาชิกได้อย่างแท้จริง 5. ส่งเสริม แนะนำ เร่งรัด การดำเนินงานของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อกำหนดต่างๆ คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ นโยบาย มติที่ประชุมใหญ่และมติที่ประชุมคณะกรรมการ รวมทั้งการแนะนำ ส่งเสริมให้กรรมการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติที่ประชุมใหญ่ หรือมติที่ประชุมคณะกรรมการ โดยมีแนวทางการปฏิบัติงาน เช่น แนะนำให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรส่งสำเนารายงานการประชุมใหญ่ หรือรายงานการประชุมคณะกรรมการให้กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ทราบ เป็นต้น 6. ส่งเสริม แนะนำ การปฏิบัติงาน การบริหารงาน การเงินและการบัญชีแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร เพื่อให้ปฏิบัติงานได้ถูกต้อง เป็นการป้องปรามและป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น แนะนำให้สหกรณ์บันทึกรายการในบัญชีเอกสารทางการเงินให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน การสอบทานหนี้สิน การสอบทานหุ้น และเงินฝากของสมาชิกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้ง การแนะนำให้กรรมการสหกรณ์ได้ตรวจนับเงินสดอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น 7. ให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตาม การดำเนินการแก้ไขปัญหาการทุจริต ข้อบกพร่องของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ตามที่รองนายทะเบียนสหกรณ์วินิจฉัย สั่งการ 8. ปฏิบัติงานร่วมวางแผน ร่วมคิดกับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาร่วมกัน ตามขั้นตอนดังนี้ 1) จัดให้มีการประชุมเสวนากับสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร คณะกรรมการ และฝ่ายจัดการ เพื่อค้นหาความต้องการ สภาพปัญหาของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรในเบื้องต้น 2) วิเคราะห์ความต้องการ สภาพปัญหา แยกแยะและจัดกลุ่มของความต้องการสภาพปัญหาให้ชัดเจน โดยดำเนินการร่วมกับกลุ่มงานทางวิชาการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ตามภารกิจที่เกี่ยวข้องของแต่ละกลุ่มงาน เพื่อกำหนดแนวทางในการส่งเสริมงานสหกรณ์โดยใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ประกอบการพิจารณาด้วย เช่น รายงานผู้สอบบัญชี รายงานการตรวจการ แผนกลยุทธ์ รายงานการประชุมใหญ่ และแฟ้ม 19 รายการของสหกรณ์ เป็นต้น 3) นำแนวทางในการส่งเสริมงานสหกรณ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2) เข้าร่วมเสวนากับคณะกรรมการ หรือฝ่ายจัดการ เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรหรือเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงานสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ประจำปี (Bottom up) 4) ปฏิบัติงานร่วมกับกลุ่มงานทางวิชาการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดในการพิจารณาแผนงาน / โครงการตามแผนปฎิบัติงานประจำปีของกรม จังหวัด เพื่อนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สหกรณ์ใช้ประกอบในการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีของสหกรณ์ (Top down) 5) นำแนวทางการปฏิบัติในข้อ 3) และ 4) เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ของกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ให้สอดคล้องกับนโยบาย ภารกิจของกรม จังหวัด รวมทั้งสนองความต้องการของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่ 9. ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจและส่งเสริมการตลาดแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่นๆ ที่จัดตั้งขึ้นมาให้มีการดำเนินการทางด้านธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มและสมาชิกกลุ่ม โดยถ้ามีผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เกิดขึ้น จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนด้านการตลาดแก่สหกรณ์และกลุ่มต่างๆ เหล่านั้นด้วย 10. ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์ และรูปแบบการบริการของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่นๆ ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า (Value add) 11. ส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจของสหกรณ์ให้มีการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่างสหกรณ์กับสหกรณ์ หรือสหกรณ์กับกลุ่มต่างๆ หรือสหกรณ์กับบุคคลภายนอกทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเชื่อมโยงเครือข่ายของสหกรณ์ให้ทราบโดยทั่วถึงกัน 12. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคล การบริหารการจัดการ และการควบคุมภายในเพื่อพัฒนาให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่นๆ มีความเข้มแข็ง โดยการแนะนำช่วยเหลือในการวางแผน การจัดทำแผนกลยุทธ์ การจัดทำโครงการและกิจกรรมการผลิตในระดับที่เป็นธุรกิจได้อย่างครบวงจรและมีศักยภาพ 13. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่นๆ ให้เหมาะสมกับขนาดโครงสร้าง ปริมาณธุรกิจ ระบบงาน วิธีดำเนินการ รวมทั้งแนะนำให้มีการควบคุมภายในของสหกรณ์และกลุ่มต่างๆ เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 14. วิเคราะห์และเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการในเบื้องต้น เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินทุนและสินเชื่อให้กับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่นๆ ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหน อย่างไร โดยพิจารณาถึงองค์ประกอบเกี่ยวกับการลงทุน การจัดหาแหล่งเงินทุน รวมทั้งการเสนอแนะแนวทางการบริหารเงินทุนของสหกรณ์และกลุ่มต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่ากับการลงทุน 15. ร่วมติดตาม ประเมินผลการให้สินเชื่อแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์หรือหน่วยงานอื่นๆ เช่น เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พร้อมทั้งเร่งรัดการส่งชำระหนี้ การเตือนหนี้ที่ถึงกำหนดชำระ 16. ให้คำแนะนำสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจัดทำและพัฒนาระบบฐานข้อมูลของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อการวางแผน และการพัฒนางาน 17. ประสานให้ความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแล รักษา ซ่อมแซม เทคโนโลยีการผลิตของสหกรณ์หรือกลุ่มต่างๆ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างต่อเนื่อง 18. ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงาน และโครงการต่างๆ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 19. ประสานกับกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ เพื่อบูรณาการงานข้อมูล ข่าวสาร และองค์ความรู้ด้านวิชาการด้านต่างๆ เพื่อนำข้อมูลและความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอด ให้การส่งเสริม แนะนำสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการเชื่อมโยงให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้ 1) ด้านการส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ประสานกับกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อประชุมชี้แจงผู้ประสงค์จัดตั้ง คณะผู้ก่อตั้ง ผู้ซึ่งสมัครเป็นสมาชิก ตลอดจนถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการจัดตั้งจนสำเร็จและสามารถจัดการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายใน 90 วันได้ ทั้งนี้ ขั้นตอนดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร นั้น ให้เป็นไปตามกระบวนงาน (Work Flow) ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกำหนด รวมทั้งส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร หรือกลุ่มอื่นๆ ให้ได้มาตรฐานหรือระดับชั้นตามที่กรมกำหนด 2) ด้านการพัฒนาธุรกิจ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ประสานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ ในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจ การส่งเสริมการตลาด การส่งเสริมและพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์ การสร้างเครือข่าย การเชื่อมโยงเครือข่ายให้กับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่นๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ 3) ด้านการพัฒนาการบริหารการจัดการ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ประสานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ ในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การควบคุมภายใน การจัดโครงสร้างและการจัดระบบงาน การจัดหา การลงทุน และการบริหารเงินทุนของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ให้กับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่นๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ 4) ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ประสานกับศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ในพื้นที่ เพื่อจัดฝึกอบรม ประชุม เสวนา ให้กับคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ 20. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
นิคมสหกรณ์พนา |
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมสหกรณ์ต่างๆ ดังนี้ 1. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ดินให้แก่ราษฎรในเขตจัดนิคมสหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ 2. วางแผนและประสานงานด้านการส่งเสริมและพัฒนานิคมสหกรณ์ 3. ดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท และให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือเกี่ยวกับการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินสหกรณ์ 4. ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์นิคมและสหกรณ์ประเภทอื่นตามที่สหกรณ์จังหวัดมอบหมาย 5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
|
|
|
|
|
|